ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ลำพูป่า, ตุ้มเต๋น
ลำพูป่า, ตุ้มเต๋น
Duabanga grandiflora (Roxb. ex DC.) Walp.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Lythraceae (Sonneratiaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Duabanga grandiflora (Roxb. ex DC.) Walp.
 
  ชื่อไทย ลำพูป่า, ตุ้มเต๋น
 
  ชื่อท้องถิ่น เตื้อเร่อะ(ขมุ), ไม้เต๋น(ไทลื้อ), ซิกุ๊(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ลำคุบ,ไม้เต้น(ลั้วะ), ซือลาง(ม้ง), ซ่อกวาเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), เส่ทีดึ๊(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร
 
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม.
 
  ดอก ดอก สีขาวมีกลิ่นฉุน บานตอนกลางคืนถึงตอนเช้า หุบตอนกลางวัน ขนาด 4-7 ซม. กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย กว้าง 1.5-3 ซม. ปลายแยกเป็น 6-7 แฉก กว้าง 0.7-1.4 ซม. ยาว 1.2-3 ซม. แผ่ออก กลีบดอก 6-7 กลีบ รูปไข่ กว้าง 25.7-3.4 ซม. ยาว3-4 ซม. สีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ กลีบเลี้ยงติดคงทน
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ดอก มีน้ำหวาน รับประทานได้, กลีบเลี้ยงหรือผล รับประทานสดกับน้ำพริก(ลั้วะ)
ผลอ่อน นำไปเผาไฟรับประทานจิ้มกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
- เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดท้องที่ไม่รู้สาเหตุ (คนที่จะไปเก็บมาใช้ ต้องเป็นคนเฒ่าคนแก่ที่มีคาถาอาคมติดตัว)(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
กิ่งและต้น สับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ำกินแก้อาการช้ำใน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ขมุ,ไทลื้อ,ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ทำฝาหรือพื้นบ้าน(ม้ง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง